ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของโลกดิจิทัล ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เป็นยุคที่โลกต้องการผู้ที่สามารถปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากทักษะทางด้านนวัตกรรม ทักษะทางด้านอาชีพ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารแล้ว ทักษะชีวิต (Life Skills)  เป็นอีกหนึ่งทักษะที่มีความจำเป็นกับวัยรุ่นในศตววรรษที่ 21 เพราะนอกจากเด็กจะต้องเป็นผู้มีความรู้แล้ว ยังต้องเป็นผู้มีทัศนคติและจิตใจที่มั่นคง เพื่อพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง

   ทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นทักษะภายในที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หรืออาจกล่าวได้ว่าทักษะชีวิต คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย

ทักษะชีวิต (Life Skills) เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลรู้จักดูแลตนเองทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมโดยไม่เป็นภาระของสังคม เน้นความสำคัญของบุคคลให้รู้จักการปรับตัว พร้อมการเผชิญการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงให้ความหมายทักษะชีวิตเป็นความสามารถอันประกอบด้วย ความรู้ เจตคติ (ทัศนคติ) และทักษะซึ่งสามารถจัดการกับปัญหารอบตัวให้บุคคลอยู่รอดในสภาพสังคมและวัฒนธรรมยุคปัจจุบันได้อย่างมีความสุขและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต

  ทักษะชีวิต (Life Skills) ได้นำไปใช้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมโลกเพื่อให้คนเกิดการพัฒนาตนเองโดยการใช้ความคิด การปรับตัว การตัดสินใจ การสื่อสาร การจัดการกับอารมณ์และความเครียดในการแก้ไขปัญหาให้กับตนเองอย่างเหมาะสม ทักษะชีวิตจึงประกอบด้วยทักษะต่าง ๆ ที่ส่งผลให้คนรู้จักเลือกปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้อง รวมทั้งการรู้จักยับยั้งชั่งใจ วัยรุ่นที่มีทักษะชีวิตจะเป็นผู้ที่มีเหตุผลและเลือกดำรงชีวิตในทางที่เหมาะสม

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดทักษะชีวิตไว้ 10 ทักษะ ได้แก่

ทักษะชีวิตทั้ง 10 ทักษะนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ ต้องอาศัยการฝึกฝน ซึ่งการจะเป็นวัยรุ่นที่พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุขและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณลักษณะที่ดีนั้นต้องฝึกตนเองให้มีจุดแข็งในด้านทักษะการวิเคราะห์ การตัดสินใจ และการปฏิบัติตนที่เหมาะสม รู้จักที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเอง และพร้อมที่เผชิญหน้าและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งมีความพร้อมที่จะจัดการกับชีวิตของตนเอง


ฝึกทักษะการตัดสินใจ (Decision making)

   สรุปประเด็นปัญหา > จัดการกับความรู้สึกของตนเอง (ใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์) > ไม่ควรรับข้อมูลมากเกินไป (พิจารณารับข้อมูลที่สำคัญ) > พิจารณาทางเลือกหลายๆ ทาง > คำนึงถึงผลดี  ผลเสีย > ตัดสินใจเลือกว่าจะเลือกแบบใด

ฝึกทักษะการแก้ปัญหา (Problem-solving)

   กำหนดปัญหาที่ชัดเจน (ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร) > กาหนดเป้าหมาย (ต้องการทำอะไรให้สำเร็จ ต้องการค้นพบอะไร) > รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาให้ได้มากที่สุด > วิเคราะห์ข้อมูล > หาวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้ > ประเมินวิธีแก้ปัญหาและเลือกว่าจะใช้วิธีใด > ทำตามแผนที่วางไว้ > ประเมินผลลัพธ์ > ปรับวิธีการแก้ปัญหา (ถ้าปัญหายังไม่คลี่คลาย)

ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)

  อ่านให้เยอะ > ร่วมมือกับผู้อื่นที่เข้าใจปัญหาหรือสิ่งที่เราอยากทำ > คุยกับผู้คนที่แตกต่างจากเรา > ยอมรับและเรียนรู้จากความล้มเหลว > รู้จักทำแผนที่ความคิด (Mind map) > พาตัวเองออกไป “นอกกรอบความคิดเดิมๆ” เริ่ม ลงมือทาสิ่งใหม่ๆ

ฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)

   รู้จักตั้งคำถาม > ไม่ควรเชื่อข้อมูลจนกว่าจะได้วิเคราะห์ด้วยตนเอง > รู้จักคิดคาดการณ์ล่วงหน้า > เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในบทบาทของผู้อื่น (เอาใจเขามาใส่ใจเรา) > แบ่งเวลาอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อทากิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมอง

ฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication)

  เข้าใจว่าการสื่อสารคืออะไร (คือกระบวนการถ่ายทอดสัญญาณ/ข้อความ ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารผ่านวิธีการต่างๆ) > กล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด > สบตาผู้รับสาร > แสดงทัศนคติหรือมุมมองที่เป็นประโยชน์ > รู้จักที่จะตั้งใจฟัง > พูดชัดถ้อยชัดคำและใช้ภาษาถูกต้อง

ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship)

   ใส่ใจเอาใจใส่ผู้อื่น > นับถือผู้อื่น นับถือตนเอง > มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน > มีความยืดหยุ่น > ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ความคิด ความรู้สึก

ฝึกทักษะการตระหนักรู้ในตน  (Self-awareness)

   รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง > ไม่บิดเบือนความรู้สึกของตนเอง (โกรธ ไม่ชอบ อิจฉา) > ให้ เวลากับตัวเองในการพัฒนาอารมณ์ > รู้ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง ยอมรับข้อด้อยและพร้อมจะพัฒนา > เรียนรู้ที่จะรู้จักตนเองตามความเป็นจริงที่เป็น

ฝึกทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy)

   หยุดคิดว่าเราเข้าใจทุกคนเป็นอย่างดี > นิ่งเพื่อรู้จักที่จะฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ > ถามเพื่อต้องการที่จะทำความเข้าใจเพิ่มเติม > จับใจความเพื่อให้เข้าใจตรงกัน > แบ่งเวลา พูดคุย เปิดประสบการณ์กับคนวัยต่างๆ หรือคนที่แตกต่างจากเรา

ฝึกทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion)

  เมื่อกำลังมีความรู้สึกในทางลบให้หยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่และอยู่กับปัจจุบัน > หายใจลึกๆ > ยิ้ม > หยุดคิดว่า “ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่านี้อีกแล้ว” เพราะจะยิ่งทำให้ความคิดในทางลบยากเกินกว่าจะควบคุม > หยุดคิดแบบเหมารวมว่า “มันจะต้องเป็นแบบนั้นแน่นอน” > ฝึกที่จะรักตัวเองให้มากๆ หยุดคิดว่าความสาเร็จคือคำว่าชนะ > มีเมตตาต่อตัวเอง เข้าใจว่าความเจ็บปวดและความทรมานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ > ฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบัน > จินตนาการถึงอนาคตที่เราจะสามารถทำมันให้ดีที่สุด เพื่อเพิ่มความรู้สึกทางบวกให้กับตัวเอง

ฝึกทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress)

  หาสาเหตุของความเครียด > สำรวจความถี่ของความเครียดว่าเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน  สถานการณ์ใดที่ทำให้เกิดความเครียด > จัดอันดับความเครียดที่ส่งกระทบกับเรามากที่สุด > วางแผนเพื่อขจัดความเครียด > เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ทำให้กังวล > ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง > หาเวลาพักผ่อน

  เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วได้ เพราะฉะนั้นการฝึกฝนให้ตนเอง มีภูมิคุ้มกันย่อมส่งผลให้วัยรุ่นยุคนี้สามารถอยู่ใน ความสุขและสามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวไปสู่ยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทักษะชีวิตไม่ใช่เรื่องยากที่เด็กจะฝึกฝน เพียงแต่เราต้องเชื่อว่าทักษะชีวิตมีประโยชน์กับเรา และใช้เวลาในการพัฒนาทักษะ ต่าง ๆ ให้กลายเป็นจุดแข็ง และพยายามที่จะใช้ทักษะต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เราสามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สารบัญ

การย้อมสีฟันดูคราบจุลินทรีย์ 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 

การขจัดคราบเปื้อนหมึกปากกา 

การคัดแยกขยะ 

การประดิษฐ์กังหัน รร 

ท่องสูตรคูณภาษาอังกฤษ 

การทำวุ้นปีโป้นมสด 

การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน 

Polite request

Lost my belonging 

การถูพื้นอย่างถูกวิธี 

การกวาดบ้านอย่างถูกวิธี 

กิจกรรมการเก็บขยะ 

การพับผ้าและการพับถุงเท้าอย่างถูกวิธี 

การสวดมนต์ 

การรีดผ้าอย่างถูกวิธี 

การทำนมเย็นสูตรพระราชทาน 

การพับที่นอนอย่างถูกวิธี 

การเต้นออกกำลังกาย 

การเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ 

Shopping 

คณิตศาสตร์ใกล้ตัว 

จิตอาสา 

เด็กดีผู้เสียสละ 

ทำอย่างไรเมื่อชาวต่างชาติถามทาง 

พฤติกรรมบูลลี่ 

เปิดโลกการอ่าน 

บอกเส้นทางชาวต่างชาติ 

เสริมทักษะภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด

มาตราตัวสะกด

ละครสั้นเรื่อง เด็กดีมีน้ำใจ

ละครสั้นเรื่อง อันตรายรอบตัว

ละครสั้นเรื่อง เงิน เงิน 

ละครสั้น เรื่อง ร่วมด้วยช่วยกัน 

สัญลักษณ์เพื่อสุขภาพ 

วิธีเอาตัวรอดจากการติดในรถ 

การทำน้ำอัญชันมะนาว 

ไอศกรีมหวานเย็น

การแปรงฟันแบบแห้ง

การล้างจานอย่างถูกวิธี

คำพิจารณาอาหาร

เพลงชาติไทย

เพลงมาร์ซแสงวิทยา

เพลงอาเซียน

การสวดมนต์

ล้างมือเจ็ดขั้นตอน