แบ่งปันเทคนิค วิธีการสอน และแนวคิดการสร้างห้องเรียนออนไลน์

ตามสไตล์อาจารย์ มจธ. ในช่วง Covid-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ แต่ด้วยความทุ่มเทของเหล่าอาจารย์ที่ได้สร้างสรรค์วิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ ผ่านการออกแบบห้องเรียนออนไลน์ ทำให้การเรียนรู้ของชาว มจธ. ยังคงดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะต้องกักตัวอยู่ในบ้านยาวนานสักแค่ไหนก็ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการเรียนการสอน

ETS ชวนอาจารย์หลายท่านมาร่วมกันแบ่งปันเทคนิค วิธีการในการสร้างห้องเรียนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพไม่ต่างจากห้องเรียนปกติ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่จำเป็นใน การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ กระตุ้นบรรยากาศการมีส่วนร่วม การประเมินผล ฯลฯ และเคล็ดลับอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะจุดประกายไอเดียใหม่ ๆ ให้ห้องเรียนออนไลน์ของคุณน่าสนใจมากขึ้น มาลองติดตามกันเลย



เพิ่มหน้าจอให้จุใจ พร้อมตั้งค่าง่ายๆ ด้วยตัวเอง (macOS) การเพิ่ม 2 หน้าจอ แบบไร้สาย ด้วยฟีเจอร์ Sidecar ข้อกำหนด เครื่อง Mac ต้องอัปเดตเป็น macOS Catalina 10.15 หรือใหม่กว่า (เครื่อง Mac ที่ผลิตตั้งแต่ 2012 เป็นต้นไป สามารถอัปเดตได้) และ iPad ต้องอัปเดตเป็น iPadOS 13 หรือใหม่กว่า (เช็กรุ่นเครื่อง Mac และ iPad ที่รองรับ  👉 link ) จึงจะสามารถใช้ฟีเจอร์ Sidecar ได้ อุปกรณ์ทั้งสองเครื่องต้องลงชื่อเข้าใช้ iCloud ด้วย Apple ID เดียวกัน อุปกรณ์ทั้งสองเครื่องต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 เมตร (30 ฟุต) และเปิดใช้งานบลูทูธ Wi-Fi และ Handoff อยู่ การใช้ iPad กำหนดเป็นจอที่ 2 ด้วย Sidecar มีขั้นตอนดังนี้ กรณี macOS Catalina1. คลิกไอคอน "iPad" ในแถบเมนูด้านบนของเครื่อง Mac2. เลือก "ชื่อ iPad ของคุณ" จากเมนูกรณี macOS Big Sur1. คลิกไอคอน "เมนูจอแสดงผลในศูนย์ควบคุม" ในแถบเมนูด้านบนของเครื่อง Mac2. คลิกไอคอน "iPad" ในเมนู "Display"3. จะแสดงหน้าต่าง Display เลือก "ชื่อ iPad ของคุณ" จากเมนูเพื่อเชื่อมต่อกรณีไม่เห็นไอคอนแสดงที่เครื่องทำตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ไปที่ไอคอน "Apple" ที่แถบเมนูด้านบนซ้าย แล้วเลือก "System Preferences"2. คลิกไอคอน "Displays"3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ "Show mirroring options in the menu bar when available"  การเพิ่มหน้าจอมากกว่า 1 จอ แบบมีสายและใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อ ❗️ หมายเหตุ การเชื่อมต่อจอแสดงผลภายนอกได้มากกว่า 1 จอ โดยขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่อง Mac 1. ทำการเชื่อมต่อ Adapter กับเครื่อง Mac แล้วใช้หัวอีกฝั่งของ Adapter ต่อเข้ากับสาย HDMI ของอีกเครื่อง วิธีการตั้งค่าการแสดงผลของหน้าจอแบบ Multi-monitor สำหรับเครื่อง Mac มีวิธีการดังนี้ วิธีนี้สามารถใช้ได้กับทั้งรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 2 มีขั้นตอนดังนี้1. คลิกไอคอน "Apple" ที่แถบเมนูด้านบนซ้าย แล้วเลือก "System Preferences"2. คลิกไอคอน "Displays" เพื่อกำหนดและจัดเรียงหน้าจอแสดงผล3. คลิกเมาส์ค้างเพื่อลากรูปจอ (Drag & Drop) สำหรับกำหนดให้เครื่องไหนเป็นหน้าจอหลัก (จอที่ 1) และหน้าจอรอง (จอที่ 2)4. หากต้องการแสดงผลเหมือนจอหลักทุกจอ ให้กดเครื่องหมายถูกที่ "Mirror Displays" จะได้จอเสริมสำหรับการใช้งาน     ........................ ติดตามและอัปเดตข้อมูลข่าวสารก่อนใครๆอย่าลืมคลิก Add LINE  มานะ  
ระดมสมอง ให้ได้เรื่องและได้งาน ด้วย FigJamFigJam ไวท์บอร์ดออนไลน์สำหรับการ Brainstorm!! FigJam เป็นไวท์บอร์ดออนไลน์ที่ใช้ในการระดมความคิด พร้อมเครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะกับการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ปากกา กระดาษโน้ต ลูกศร รูปทรงต่างๆ การเพิ่มรูปภาพ หรือ Features สุดน่ารัก ทั้ง Stamp, Stickers, Emoji, Team HighFive และใช้เครื่องหมายต่างๆ หรือการแชท เพื่อจัดระเบียบความคิดได้อย่างลงตัว ........................ วันนี้ ETS จะพาทุกคนไปเรียนรู้วิธีการใช้งาน FigJam ซึ่งจะมีขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย   How to Sign up and Invite การเข้าใช้งาน FigJam (Beta) 1. สมัครลงทะเบียนที่ www.figma.com/figjam2. สร้าง Team และ Project3. ส่ง Invite Link ให้กับผู้เข้าร่วม หมายเหตุ : ถ้าต้องการแก้ไขหรือทำงานร่วมกัน ผู้เข้าร่วมจำเป็นจะต้องลงทะเบียนก่อนเข้าใช้งาน ไม่อย่างนั้นจะสามารถเข้าชมได้อย่างเดียว ........................ FigJam ดีกว่าหรือแตกต่างจากไวท์บอร์ดออนไลน์อื่นๆ ยังไง ? - สร้าง diagram ได้ลื่นปรี๊ดดด...และง่ายกว่าเดิม เพราะมี Shapes สำเร็จรูป สามารถสร้าง Map user flows, Processes, Systems และ Journeys - มองเห็นภาพรวมและเข้าใจตรงกันมากยิ่งขึ้นด้วย Visual Whiteboard ในการร่างขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม - เพิ่มการสื่อสารและแสดงอารมณ์ได้สารพัด ด้วย Emote และ Stamp เพิ่มสีสันแถมปรับขนาดได้อีกด้วย - แค่แชร์ไอเดียผ่านงานอย่างเดียวอาจยังไม่ตอบโจทย์ ทำให้เคลียร์ๆ กันได้ง่ายๆ ด้วยการแชทสดๆ แชร์ความเห็นพร้อมกันได้ทั้งทีม - ระดมสมองร่วมกันจนได้ไอเดียสุดเจ๋งมาแล้วอย่าลืม Team HighFive ให้กำลังใจกับสุดยอดทีมงานทุกคนได้เลย !!! How to use FigJam  ........................ ติดตามและอัปเดตข้อมูลข่าวสารก่อนใคร ๆ อย่าลืมคลิก Add LINE  มานะ
ต่อจอเสริม เพิ่มหน้าจอให้จุใจ พร้อมตั้งค่าง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน (Windows) การเพิ่มหน้าจอการทำงานโดยใช้ Smartphone เป็นจอเสริมอย่างง่าย ไร้สายเชื่อมต่อ รูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ เพียงแค่ใช้ Smartphone เท่านั้นก็สามารถเพิ่มหน้าจอการทำงานได้ง่ายๆ ก่อนอื่นดาวน์โหลดโปรแกรม SPACEDESK ติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์และ Smartphone ของคุณ ดังนี้ 🔹 คอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows  👉 link🔹 Smartphone ระบบ IOS 👉  link    🔹 Smartphone ระบบ Android 👉 link ❗️หมายเหตุ : ก่อนใช้งานให้เชื่อมต่อ Wifi  ที่ Smartphone และคอมพิวเตอร์ ด้วย Wifi ชื่อเดียวกัน ........................ ส่วนที่ 1 ไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ 1. เปิดโปรแกรม SPACEDESK ที่คอมพิวเตอร์ขึ้นมา2. คลิกที่ "Setting" มุมบนซ้ายของโปรแกรม แล้วเลือก "ON"ส่วนที่ 2 ไปที่ Smartphone, Tablet, หรือ  iPad  3. เปิดโปรแกรม SPACEDESK ขึ้นมา ระบบจะทำการค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ4. เลือก "Connection: 192.168.0.183 (IP-Address เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ)" เมื่อเลือกเสร็จแล้ว หน้าจอคอมพิวเตอร์จะแสดงผลที่หน้าจอ Smartphone ทันที5. หากต้องการปิดการเชื่อมต่อ ให้ไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เปิดโปรแกรม SPACEDESK จากนั้นคลิกที่ "Setting" มุมบนซ้าย แล้วเลือก "OFF" 💡 Tip หากต้องการเพิ่มจอที่ 3 หรือ 4 สามารถทำได้ โดยการเพิ่มอุปกรณ์ Smartphone, Tablet, และ iPad ได้   การเพิ่มหน้าจอการทำงานบนระบบ Windowsสำหรับผู้ที่มีสายอุปกรณ์เชื่อมต่อ สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 การใช้สาย VGA หรือสาย HDMI ต่อตรงเข้ากับคอมพิวเตอร์และจอที่ต้องการโดยตรง มีวิธีการเชื่อมต่อดังนี้ 1. นำสาย VGA หรือสาย HDMI  ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง วิธีที่ 2 การใช้ Adapter กล่องสลับแยกสัญญาณ HDMI Switch ซึ่งจะสามารถต่อจอเพิ่มได้ตามจำนวน Port ที่ Adapter มีมาให้ มีวิธีการเชื่อมต่อดังนี้ 1. สาย HDMI (เส้นที่ 1) หัวสายต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายสายต่อเข้ากับกล่อง HDMI Switch ในช่อง Input2. สาย HDMI (เส้นที่ 2) หัวสายต่อเข้ากับกล่อง HDMI Switch ในช่อง Output และปลายสายต่อเข้ากับจอ Monitor ที่ต้องการ วิธีการตั้งค่าการแสดงผลของหน้าจอแบบ Multi-monitor สำหรับ Windows 10 มีวิธีการดังนี้ 1. คลิกขวาที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วเลือก "Display settings" 2. คลิกเลือกรูปแบบการแสดงผลที่ Multiple displays ซึ่งมีให้เลือกดังนี้   🔹 Duplicate these displays : กำหนดให้หน้าจอทุกตัวแสดงผลเหมือนกับหน้าจอหลัก (จอที่ 1) ทุกอย่าง   🔹 Extend these displays : กำหนดให้หน้าจอทุกตัวแสดงผลแบบต่อเนื่องกัน คือ สามารถขยายการทำงานให้กว้างไปตามจำนวนจอที่ต่อไว้   🔹 Show only on 1 : แสดงผลเฉพาะหน้าจอที่ 1 เท่านั้น   🔹 Show only on 2 : แสดงผลเฉพาะหน้าจอที่ 2 เท่านั้น3. คลิกลากกล่องตัวเลข (Drag & Drop) เพื่อเลือกจัดเรียงหน้าจอการแสดงผลให้ได้ตามรูปแบบที่ต้องการ4. คลิกปุ่ม "Identify" สังเกตว่าจะมีตัวเลขของหน้าจอปรากฏขึ้น เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเครื่องไหนเป็นหน้าจอหลัก (จอที่ 1) และหน้าจอเสริม (จอที่ 2)5. คลิกปุ่ม "Apply" เพื่อยืนยัน อ่านวิธีเพิ่มหน้าจอการทำงานให้ง่ายขึ้นบนเครื่อง Mac คลิก!! ........................ ติดตามและอัปเดตข้อมูลข่าวสารก่อนใครๆอย่าลืมคลิก Add LINE  มานะ  

5 ไอเดีย Icebreaker ที่สายสอนไม่ควรพลาด

5 ไอเดียสำหรับจัดกิจกรรม Ice Breaking สุดปัง

ที่จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และปลุกพลังการทำงานเป็นทีมให้ทุกคน

เปิดเทอมรอบนี้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนก็ต่างรอคอยบรรยากาศของการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง แต่หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามว่าจะต้องทำอย่างไรให้บรรยากาศของการพูดคุยกันในชั้นเรียนใหม่นั้นเป็นไปโดยผ่อนคลายและสนุกสนานที่สุด

ห้รู้จักกับ 5 ไอเดียการจัดกิจกรรม Icebreaking ง่ายๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับห้องเรียนออนไลน์ได้ ตามมาดูกันเลย

1. Table Topics

Table topics ดั้งเดิมคือเซ็ทไพ่ที่วางขายอยู่ทั่วไปในร้านค้าออนไลน์ ไพ่แต่ละใบจะมีคำถามสำหรับใช้เริ่มต้นบทสนทนา และทุกๆ เซ็ทจะมีคำถามกว่าร้อยข้อ Table topics เป็นตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่งสำหรับการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำความรู้จักกัน หรือเริ่มต้นหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ตัวอย่างของคำถาม:

- บนโลกนี้มีสิ่งที่สมบูรณ์แบบจริงๆ หรือไม่

- ถ้ามีเวลา 1 อาทิตย์ จะเลือกกลับไปในอดีต หรือลองไปอนาคต

- ขอ 3 คำให้กับอนาคตของตัวเอง

- อะไรคือนิยามของคำว่า “รวย” 

- มีอะไรบ้างที่ตัวคุณในวันนี้ทำได้ ทั้งๆ ที่เมื่อ 1 ปีที่แล้วยังทำไม่ได้

ผู้สอนสามารถประยุกต์ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในบทเรียนของตัวเองได้โดยกำหนดคำถามเอาไว้ด้วยตัวเอง หรือใช้ ตัวอย่างคำถาม

การนำไปใช้

1. ผู้สอนเขียนคำถามลงในกระดานสนทนา หรือขอให้ผู้เรียนช่วยกันเขียนไอเดียของตัวเองลงไป หรือใช้ เครื่องมือสุ่มคำถาม

2. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับคำถามที่ทุกๆ คนสามารถตอบได้ แล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตอบคำถามร่วมกันใน Breakout rooms

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Breakout rooms (ซึ่งมีอยู่ในเครื่องมือสำหรับการประชุม อย่างเช่น Zoom, Google Meet หรือ MS Teams)

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมือสุ่มคำถาม เช่น Conversationstarters

2. Storytelling

ด้วยความที่เกมนี้เป็นเกมที่ปลุกทั้งความคิดสร้างสรรค์ และความร่วมมือกัน

Storytelling จึงเป็นเกมที่เหมาะมากทั้งสำหรับกิจกรรม Icebreaking และ Team-building 

การนำไปใช้

1. ก่อนเริ่มทำกิจกรรม เตรียมกระดานเอาไว้ สำหรับการเรียนออนไลน์สามารถใช้ Google Docs หรือเครื่องมืออื่นๆ เพื่อสร้างกระดานที่สามารถแสดงรูปภาพได้ ในแต่ละหน้าใส่รูปภาพเอาไว้ 4 รูป

2. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 คน ซึ่งทุกกลุ่มจะได้รับไฟล์รูปภาพที่เตรียมไว้

3. กำหนดเวลา 10 นาที ให้ผู้เรียนแต่งเรื่องขึ้นมาจากรูปภาพทั้ง 4 รูป

4. เมื่อหมดเวลา ให้แต่ละกลุ่มเล่าเรื่องราวของตัวเอง กลุ่มละ 3 นาที โดยผู้สอนสามารถถามกลุ่มอื่นๆ ได้ว่าถ้าเป็นตัวเองจะเพิ่มเติม หรือพัฒนาเรื่องที่ได้ฟังอย่างไร

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Breakout rooms (ซึ่งมีอยู่ในเครื่องมือสำหรับการประชุม อย่างเช่น Zoom)

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่น ๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Google Docs, Padlet หรือ Miro

3. Hope and Fears

Hope and Fears เป็นหนึ่งในเกมยอดนิยมที่ถูกใช้เพื่อแสดงความรู้สึก

หรือความคิดของผู้เรียนว่ามีความคาดหวัง หรือความไม่มั่นใจต่อบทเรียนอย่างไร

การนำไปใช้

1. ขอให้ผู้เรียนเขียนความต้องการและความกลัวสูงสุดของตัวเอง เช่น สำหรับในบทเรียน สำหรับปีนี้ หรือสำหรับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง 

2. สำหรับห้องเรียนออนไลน์ ผู้สอนอาจใช้ Padlet, Ideaboardz หรือ Miro เพื่อใช้งาน Sticky notes ที่มีสีสันแตกต่างกันได้เพื่อแบ่งประเภทของความคาดหวังและความกลัวของผู้เรียน

3. อ่านความคาดหวังก่อน แล้วตามด้วยความกลัวของทุกคน จากนั้นร่วมพูดคุยกันถึงหัวข้อใน Sticky note แต่ละใบ

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Padlet, Ideaboardz หรือ Miro

4. Take a Picture of Something

อีกตัวเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับการให้ทุกๆ คนได้ทำความรู้จักกันผ่านทางรูปภาพและความคิดสร้างสรรค์คือกิจกรรม Take a Picture of Something

ผู้เรียนและผู้สอนจะได้ทำความรู้จัก และแลกเปลี่ยนมุมมองของกันและกันผ่านทางรูปถ่ายในชีวิตประจำวัน

การนำไปใช้

1. ขอให้ผู้เรียนถ่ายรูปภาพอะไรก็ได้มา 1 อย่าง ผู้สอนสามารถกำหนดธีมที่สอดคล้องกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งได้ เช่นขอให้ถ่ายรูปรองเท้า หรืออะไรก็ได้บนโต๊ะเขียนหนังสือ หรือวิวนอกหน้าต่างห้องของตัวเอง ผู้สอนควรขอให้ผู้เรียนถ่ายรูปภาพ และอัปโหลดล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มต้นบทเรียนเพื่อประหยัดเวลาในคาบเรียน

2. ขอให้ผู้เรียนแชร์รูปภาพของตนเองผ่านทางกระดานออนไลน์

3. เริ่มพูดคุยกันถึงภาพถ่ายของแต่ละคน อาจตั้งคำถามเช่น ทำไมถึงเลือกที่จะถ่ายภาพสิ่งนั้นมา หรืออะไรเป็นสิ่งที่ชอบที่สุดในวิวที่มองเห็นได้จากหน้าต่างห้องของตัวเอง เป็นต้น

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Padlet, Evernote  หรือ Miro

5. Bingo

Bingo เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม Icebreaking สุดคลาสสิกที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องเรียนออนไลน์ได้ง่ายๆ ในห้องเรียน Face-to-Face แบบดั้งเดิม ผู้สอนจะต้องเตรียมตารางไว้พร้อมกับข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับคนในห้อง แล้วแจกให้กับผู้เรียน ทุกคนจะเดินไปรอบๆ ห้องแล้วพยายามหาคนที่ตรงกับข้อความที่เขียนเอาไว้ในแต่ละช่อง แต่ผู้สอนสามารถประยุกต์กิจกรรม Bingo ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนออนไลน์ได้ง่ายๆ

การนำไปใช้

1. ผู้สอนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคน ผ่านทางเครื่องมือสร้างแบบสอบถามออนไลน์

2. สร้างตาราง 5x5 โดยใส่ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนเอาไว้ในแต่ละช่องของตาราง ตัวอย่างเช่น สามารถพูดได้สองภาษา เคยไปเที่ยวสเปน หรือเรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทเรียน

3. แชร์ไฟล์ตารางกับผู้เรียนก่อนหรือระหว่างบทเรียนก็ได้ โดยสามารถทำได้ผ่านทางอีเมล, ฟีเจอร์แบ่งปันข้อมูลในเครื่องมือออนไลน์สำหรับประชุม หรือเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลออนไลน์อื่นๆ เช่น Google docs, Dropbox หรือ Evernote ผู้สอนสามารถทำกิจกรรมนี้แบบ Real-time ผ่านทางเครื่องมือ เช่น Padlet, Ideaboardz หรือ Miro

4. ขอให้ผู้เรียนเขียนชื่อลงใต้แต่ละความข้อความที่หมายความถึงตนเอง

5. ผู้เรียนทุกคนแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองตามที่เขียนในตาราง และพูดคุยแลกเปลี่ยนทำความรู้จักกัน

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Padlet, Evernote หรือ Miro

- เครื่องมือสำหรับสร้างแบบสอบถาม เช่น Survey Monkey, Google Forms, Wiki หรือ Slimwiki

- การส่งอีเมล