Ice Breaker

5 ไอเดีย Icebreaker ที่สายสอนไม่ควรพลาด

5 ไอเดียสำหรับจัดกิจกรรม Ice Breaking สุดปัง

ที่จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และปลุกพลังการทำงานเป็นทีมให้ทุกคน


เปิดเทอมรอบนี้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนก็ต่างรอคอยบรรยากาศของการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันอีกครั้ง แต่หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามว่าจะต้องทำอย่างไรให้บรรยากาศของการพูดคุยกันในชั้นเรียนใหม่นั้นเป็นไปโดยผ่อนคลายและสนุกสนานที่สุด

วันนี้ ETS จะพาทุกคนไปให้รู้จักกับ 5 ไอเดียการจัดกิจกรรม Icebreaking ง่ายๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับห้องเรียนออนไลน์ได้ ตามมาดูกันเลย

1. Table Topics

Table topics ดั้งเดิมคือเซ็ทไพ่ที่วางขายอยู่ทั่วไปในร้านค้าออนไลน์ ไพ่แต่ละใบจะมีคำถามสำหรับใช้เริ่มต้นบทสนทนา และทุกๆ เซ็ทจะมีคำถามกว่าร้อยข้อ Table topics เป็นตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่งสำหรับการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำความรู้จักกัน หรือเริ่มต้นหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ตัวอย่างของคำถาม:

- บนโลกนี้มีสิ่งที่สมบูรณ์แบบจริงๆ หรือไม่

- ถ้ามีเวลา 1 อาทิตย์ จะเลือกกลับไปในอดีต หรือลองไปอนาคต

- ขอ 3 คำให้กับอนาคตของตัวเอง

- อะไรคือนิยามของคำว่า “รวย” 

- มีอะไรบ้างที่ตัวคุณในวันนี้ทำได้ ทั้งๆ ที่เมื่อ 1 ปีที่แล้วยังทำไม่ได้


ผู้สอนสามารถประยุกต์ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในบทเรียนของตัวเองได้

โดยกำหนดคำถามเอาไว้ด้วยตัวเอง หรือใช้ ตัวอย่างคำถาม

การนำไปใช้

1. ผู้สอนเขียนคำถามลงในกระดานสนทนา หรือขอให้ผู้เรียนช่วยกันเขียนไอเดียของตัวเองลงไป หรือใช้ เครื่องมือสุ่มคำถาม

2. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับคำถามที่ทุกๆ คนสามารถตอบได้ แล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตอบคำถามร่วมกันใน Breakout rooms

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Breakout rooms (ซึ่งมีอยู่ในเครื่องมือสำหรับการประชุม อย่างเช่น Zoom, Google Meet หรือ MS Teams)

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมือสุ่มคำถาม เช่น Conversationstarters

2. Storytelling

ด้วยความที่เกมนี้เป็นเกมที่ปลุกทั้งความคิดสร้างสรรค์ และความร่วมมือกัน

Storytelling จึงเป็นเกมที่เหมาะมากทั้งสำหรับกิจกรรม Icebreaking และ Team-building 

การนำไปใช้

1. ก่อนเริ่มทำกิจกรรม เตรียมกระดานเอาไว้ สำหรับการเรียนออนไลน์สามารถใช้ Google Docs หรือเครื่องมืออื่นๆ เพื่อสร้างกระดานที่สามารถแสดงรูปภาพได้ ในแต่ละหน้าใส่รูปภาพเอาไว้ 4 รูป

2. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 คน ซึ่งทุกกลุ่มจะได้รับไฟล์รูปภาพที่เตรียมไว้

3. กำหนดเวลา 10 นาที ให้ผู้เรียนแต่งเรื่องขึ้นมาจากรูปภาพทั้ง 4 รูป

4. เมื่อหมดเวลา ให้แต่ละกลุ่มเล่าเรื่องราวของตัวเอง กลุ่มละ 3 นาที โดยผู้สอนสามารถถามกลุ่มอื่นๆ ได้ว่าถ้าเป็นตัวเองจะเพิ่มเติม หรือพัฒนาเรื่องที่ได้ฟังอย่างไร

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Breakout rooms (ซึ่งมีอยู่ในเครื่องมือสำหรับการประชุม อย่างเช่น Zoom)

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Google Docs, Padlet หรือ Mir

3. Hope of Fear

Hope and Fears เป็นหนึ่งในเกมยอดนิยมที่ถูกใช้เพื่อแสดงความรู้สึก

หรือความคิดของผู้เรียนว่ามีความคาดหวัง หรือความไม่มั่นใจต่อบทเรียนอย่างไร

การนำไปใช้

1. ขอให้ผู้เรียนเขียนความต้องการและความกลัวสูงสุดของตัวเอง เช่น สำหรับในบทเรียน สำหรับปีนี้ หรือสำหรับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง 

2. สำหรับห้องเรียนออนไลน์ ผู้สอนอาจใช้ Padlet, Ideaboardz หรือ Miro เพื่อใช้งาน Sticky notes ที่มีสีสันแตกต่างกันได้เพื่อแบ่งประเภทของความคาดหวัง

และความกลัวของผู้เรียน

3. อ่านความคาดหวังก่อน แล้วตามด้วยความกลัวของทุกคน จากนั้นร่วมพูดคุยกันถึงหัวข้อใน Sticky note แต่ละใบ

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Padlet, Ideaboardz หรือ Mi

4. Tak a Picture of Something

อีกตัวเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับการให้ทุกๆ คนได้ทำความรู้จักกันผ่านทางรูปภาพและความคิดสร้างสรรค์คือกิจกรรม Take a Picture of Something

ผู้เรียนและผู้สอนจะได้ทำความรู้จัก และแลกเปลี่ยนมุมมองของกันและกันผ่านทางรูปถ่ายในชีวิตประจำวัน

การนำไปใช้

1. ขอให้ผู้เรียนถ่ายรูปภาพอะไรก็ได้มา 1 อย่าง ผู้สอนสามารถกำหนดธีมที่สอดคล้องกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งได้ เช่นขอให้ถ่ายรูปรองเท้า หรืออะไรก็ได้บนโต๊ะเขียนหนังสือ หรือวิวนอกหน้าต่างห้องของตัวเอง ผู้สอนควรขอให้ผู้เรียนถ่ายรูปภาพ และอัปโหลดล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มต้นบทเรียนเพื่อประหยัดเวลาในคาบเรียน

2. ขอให้ผู้เรียนแชร์รูปภาพของตนเองผ่านทางกระดานออนไลน์

3. เริ่มพูดคุยกันถึงภาพถ่ายของแต่ละคน อาจตั้งคำถามเช่น ทำไมถึงเลือกที่จะถ่ายภาพสิ่งนั้นมา หรืออะไรเป็นสิ่งที่ชอบที่สุดในวิวที่มองเห็นได้จากหน้าต่างห้องของตัวเอง เป็นต้น

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Padlet, Evernote  หรือ M

5. Bingo

Bingo เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม Icebreaking สุดคลาสสิกที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องเรียนออนไลน์ได้ง่ายๆ ในห้องเรียน Face-to-Face แบบดั้งเดิม ผู้สอนจะต้องเตรียมตารางไว้พร้อมกับข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับคนในห้อง แล้วแจกให้กับผู้เรียน ทุกคนจะเดินไปรอบๆ ห้องแล้วพยายามหาคนที่ตรงกับข้อความที่เขียนเอาไว้ในแต่ละช่อง แต่ผู้สอนสามารถประยุกต์กิจกรรม Bingo ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนออนไลน์ได้ง่ายๆ

การนำไปใช้

1. ผู้สอนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคน ผ่านทางเครื่องมือสร้างแบบสอบถามออนไลน์

2. สร้างตาราง 5x5 โดยใส่ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนเอาไว้ในแต่ละช่องของตาราง ตัวอย่างเช่น สามารถพูดได้สองภาษา เคยไปเที่ยวสเปน หรือเรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทเรียน

3. แชร์ไฟล์ตารางกับผู้เรียนก่อนหรือระหว่างบทเรียนก็ได้ โดยสามารถทำได้ผ่านทางอีเมล, ฟีเจอร์แบ่งปันข้อมูลในเครื่องมือออนไลน์สำหรับประชุม หรือเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลออนไลน์อื่นๆ เช่น Google docs, Dropbox หรือ Evernote ผู้สอนสามารถทำกิจกรรมนี้แบบ Real-time ผ่านทางเครื่องมือ เช่น Padlet, Ideaboardz หรือ Miro

4. ขอให้ผู้เรียนเขียนชื่อลงใต้แต่ละความข้อความที่หมายความถึงตนเอง

5. ผู้เรียนทุกคนแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองตามที่เขียนในตาราง และพูดคุยแลกเปลี่ยนทำความรู้จักกัน

เครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ได้

- Whiteboards และกระดานสนทนาออนไลน์ เช่น Whiteboard.chat

- เครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ อย่างเช่น Padlet, Evernote หรือ Miro

- เครื่องมือสำหรับสร้างแบบสอบถาม เช่น Survey Monkey, Google Forms, Wiki หรือ Slimwiki

- การส่งอีเมล