สอน WordPress ตั้งแต่พื้นฐาน (2021) ทำตามได้ทันที


29

ก.ย.

ช่วยแชร์ให้เพื่อน... สนับสนุนผู้เขียนครับ :)


WordPress เป็นเครื่องมือ ที่ทรงพลังอย่างมากในการทำเว็บไซต์ ข้อพิสูจน์ก็คือ จากจำนวนเว็บไซต์บนโลกทั้งหมด มีเว็บที่ทำด้วย WordPress มากถึง 30% ครับ แต่ในเมืองไทย ข้อมูลเรื่องการใช้งาน WordPress ยังกระจัดกระจายอยู่มากครับ นั่นเป็นที่มา ที่ผมได้ทำการรวบรวม วิธีการใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ ขั้นพื้นฐาน ฉบับภาษาไทย ทั้งหมด เอาไว้ในบทความนี้แล้วครับ

 

สารบัญ  ซ่อน 


WordPress คือ อะไร แล้วทำไม เราต้องใช้ WordPress ?

WordPress ที่เรากำลังพูดถึง คือ ซอฟท์แวร์ หรือ โปรแกรม ที่เราเอาไว้สำหรับ ใช้สร้างเว็บไซต์ครับ ซึ่ง Software ตัวนี้ เป็น ซอฟท์แวร์ แบบเปิดรหัส ที่เรียกว่า Open Source และมีลิขสิทธิ์แบบ GPL เราจึง สามารถนำ WordPress มาใช้ ทำเว็บไซต์ ได้ฟรีครับ ซึ่งเราสามารถ Download เจ้าโปรแกรม WordPress ได้จากเว็บไซต์ WordPress.org ครับ

สาเหตุ ที่นักพัฒนาเว็บไซต์ หลายคนหันมาใช้งาน WordPress ก็เพราะว่า WordPress ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ออกเวอร์ชันแรกเมื่อปี 2003 เป็นต้นมา ในระยะแรก WordPress เป็นเพียง Blogging Software สำหรับเอาไว้เขียนบทความ หรือ บล็อกส่วนตัวเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน WordPress มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จนพัฒนาเปลี่ยนแปลงจาก Blogging Software มาเป็น CMS หรือ Content Management System หรือ ในภาษาไทย เราเรียกว่า เครื่องมือบริหาร จัดการ เนื้อหาบนเว็บไซต์นั่นเอง

ปัจจุบัน WordPress ไม่เพียงแต่สามารถบริหารจัดการ เนื้อหา บนเว็บไซต์ได้เท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือ สำหรับ การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงาม ตลอดจน การนำไป ทำเว็บขายของออนไลน์ ด้วย ซอฟท์แวร์เสริม หรือ Plugin Woocommerce ได้อีกด้วย

WordPress เป็นอย่างไรในปัจจุบัน

ตารางข้อมูลด้านล่าง บอกรายละเอียดของ WordPress ในปัจจุบันครับ

จำนวนเว็บไซต์ ที่ใช้งาน WordPress

คิดเป็น 32% ของจำนวนเว็บไซต์บนโลก

จำนวน Template หรือ Theme

มากที่สุดในโลกของ CMS

จำนวน Plugins หรือ Addons

มากกว่า CMS ตัวอื่นๆในโลก

ความง่ายในการใช้งาน

ใช้งานง่ายกว่า Open Source CMS ตัวอื่น อย่าง Joomla, Drupal

แหล่งข้อมูลการใช้ WordPress

จำนวนมหาศาล มีแทบทุกภาษา

จำนวนนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress

มากที่สุดในบรรดา CMS

ความสับสนระหว่าง WordPress.com และ WordPress.org

เวลาที่เราค้นหาข้อมูล แล้วได้ยินคนพูดถึง WordPress เราอาจจะเจอ เว็บไซต์ 2 เว็บ นั่นก็คือ WordPress.com และ WordPress.org นั่นเอง ซึ่ง 2 เว็บไซต์ นี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ ผมสรุปให้แบบนี้ครับ

WordPress.com

WordPress.org

เป็น Platform เว็บสำเร็จรูป

เป็น Software Open Source

ไม่ต้องติดตั้งเอง สมัครและใช้งานได้เลย

ต้องติดตั้งเอง

ข้อมูลเก็บที่ WordPress.com

ข้อมูลเก็บที่เว็บโฮสติ้งของเรา ที่เราติดตั้ง

Plugins และ Themes ไม่สามารถติดตั้งได้ อิสระ

ติดตั้ง Plugins และ Themes ได้อิสระ

มีค่าบริการรายปี

มีค่าบริการโดเมนและเว็บโฮสติ้ง รายปี


นอกจากนั้น ผมยังมีวีดีโอ เรื่อง WordPress คืออะไร ? การปรียบเทียบ WordPress.com และ WordPress.org เอาไว้ให้ศึกษาด้วยครับ

ดูวีดีโอเรื่องนี้

กลับสู่สารบัญ

การเตรียมตัวก่อน เริ่มสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress

ก่อนที่เราจะสร้างเว็บไซต์ ด้วย WordPress ได้ เราต้องรู้จักคำว่า โดเมน และ เว็บโฮสติ้งก่อนครับ ซึ่งการที่เว็บไซต์ของเรา จะออนไลน์ได้ เราจะเป็นที่จะต้องมี โดเมน และ เว็บโฮสติ้งครับ วิธีการที่เราจะได้มาคือ เราต้องไปเช่ากับผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง แต่ก็ยังมีอีกวิธีนึง ถ้าเราต้องการลองเล่น WordPress ดูเราสามารถที่จะติดตั้ง WordPress บนเครื่องตัวเองก็ได้เช่นกัน


โดเมน คืออะไร ?

โดเมน เปรียบเสมือน ป้ายบอกทาง ชี้ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ เราเรียกว่าเว็บโฮสติ้งครับ มีลักษณะแบบนี้ครับ

mydomain.tld หรือ ชื่อโดเมน.นามสกุล

รูปแบบของโดเมนเนม

ซึ่ง tld ก็มีหลากหลาย ประเภท หรือเราจะเรียกว่า นามสกุล ก็ได้ ตัวอย่างเช่น

แต่ในปัจจุบันนี้มี TLD เกิดขึ้นมากมายครับ เช่น .io, .me, .website, .solutions หรือแม้กระทั่ง .ninja ก็ยังมี เราสามารถจดทะเบียนได้หมด ขึ้นอยู่กับว่า เราอยากจะเอาไปใช้แบบไหน แต่ข้อแนะนำคือ เราพยายามหาจด .com ดีกว่า เพราะคนส่วนมาก ก็ยังคุ้นเคยกับ .com อยู่ดี

ดังนั้นถ้าเราจดโดเมนเอาไว้เป็นของเราแล้ว เราก็สามารถที่จะชี้ไปที่ เว็บโฮสติ้งไหนก็ได้ หรือ ย้ายไปยังเว็บโฮสติ้งไหนก็ได้เช่นกันครับ

เว็บโฮสติ้ง คืออะไร ?

ถ้าพูดถึงเว็บโฮสติ้ง ลองนึกภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องนึง ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ตลอดเวลา เพื่อให้คน เข้าไปดูเว็บไซต์ได้ครับ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ จะต้องรองรับการเรียกดูเว็บไซต์ จากหลายๆ คนทั่วโลกได้ครับ จึงจะเป็นเว็บโฮสติ้ง

เวลาเราเลือกเว็บโฮสติ้ง สิ่งที่ควรพิจารณา คือ…

ระบบปฎิบัติการที่เว็บโฮสติ้งใช้

แนะนำให้เป็น Linux

เวอร์ชันของซอฟท์แวร์

แนะนำเป็น PHP 7.3+ MySQL 5.6+ หรือ Mariadb 10+

พื้นที่ใช้งาน

3 GB ขึ้นไป น้อยกว่านี้ ติดตั้ง WordPress ไม่ได้

อัตราการรับส่งข้อมูล

อย่าน้อยกว่า 50 GB


การติดตั้ง WordPress ทำได้ 2 วิธี

สำหรับการติดตั้ง WordPress เราสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 ติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง ทำอย่างไร ?

การติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง คือการติดตั้ง WordPress ให้พร้อมใช้งานจริงเลย นั่นหมายความว่า คนสามารถเข้ามาดูเว็บไซต์ของเราได้เลย หลังจากที่เราติดตั้งและเผยแพร่ข้อมูลของเรา

ซึ่งวิธีการติดตั้ง WordPress บนเว็บโฮสติ้ง ในยุคนี้ง่ายอย่างมากมายครับ เพราะมีตัวช่วยที่ชื่อว่า One Click หรือ Auto Installer ครับ หรือ ถ้าใครอยากติดตั้งด้วยวิธี FTP ในตำนาน ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ มาดูกันได้เลยครับ

ถ้ายังไม่มี SSL ทำการสร้าง SSL ใน เว็บโฮสติ้งก่อน

SSL จะทำให้เว็บไซต์ของเราปลอดภัย และ เป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ Google หรือ Search Engine จะพิจารณาเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับ ถ้าใครยังไม่มี SSL สามารถติดตั้งได้ดังนี้ครับ

เมื่อเรา Login เข้าไปใน Control Panel มาแล้ว ซึ่งผมใช้ Direct Admin ยี่ห้ออื่น ก็จะมีเมนูที่คล้ายกัน ว่ากันง่ายๆ ตัวสร้าง SSL มีทุกยี่ห้อในสมัยนี้ ให้เข้าไปที่เมนู SSL Certificate ได้เลย


การสร้าง SSL Certificate ใน Direct Admin

จากนั้น ให้เราเลือก สร้าง Free & Automatic Certificate from Let’s Encrypt แล้วเลือก Domain กับ Subdomain ให้ถูกต้อง จากนั้น กด Save ครับ


การตั้งค่า SSL ใน Direct Admin

เสร็จแล้วให้เรารอ 10 นาที ระบบจะสร้าง Certificate เป็น Code Computer ชุดหนึ่งหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ


Certificate Code จาก Let’s Encrypt

หลังจากที่เราเห็น Code เรียบร้อยแล้ว ให้เราลงมาด้านล่าง ติ๊กตรงคำว่า Force SSL แล้วกด Save 1 ครั้งครับ


Force SSL Redirection ใน Direct Admin

ตัวเลือกนี้ จะทำให้ เวลาที่คนเข้าเว็บไซต์มาด้วย http จะกลายเป็น https โดยอัตโนมัติ แต่ใช้ได้กับบางเว็บโฮสติ้งเท่านั้นครับ ต้องลองดู

ติดตั้ง WordPress ด้วย วิธี Auto Installer (One Click)

ติดตั้ง WordPress ด้วยวิธี FTP

กลับสู่สารบัญ

วิธีที่ 2 ติดตั้ง WordPress บนเครื่องตัวเอง ทำอย่างไร ?

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า WordPress จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อ ทำงานบน Web Server เท่านั้น ซึ่งในระบบของเว็บโฮสติ้ง มีการติดตั้ง Web Server อยู่ WordPress จึงจะทำงานได้

แต่ถ้าเราต้องการจะให้ WordPress ทำงานได้ที่เครื่องของเราเอง เราจะต้องจำลองเครื่องของเราเป็น Web Server ก่อนครับ ซึ่งวิธีการจำลองนั้น ไม่ยากครับ เพราะปัจจุบัน มี Software สำเร็จรูป มากมายที่จะแปลงให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เป็น Web Server ได้ เครื่องมือเหล่านั้นได้แก่…

ติดตั้ง WordPress บนเครื่องตัวเอง ด้วย Bitnami WordPress Stack ทั้งระบบ Windows และ Mac


ดูคู่มือ การติดตั้ง และ การใช้งาน Bitnami WordPress Stack ทั้งระบบ Windows และ Mac ได้ที่นี่เลยครับ

ดูคู่มือการติดตั้งได้เลย

กลับสู่สารบัญ

สอนวิธีใช้ WordPress ขั้นพื้นฐาน

เราจะเริ่มต้น จากคำว่า ระบบหน้าบ้าน กับ ระบบหลังบ้าน กันก่อนครับ เพื่อป้องกันความสับสนใน ภายหลัง

ระบบหน้าบ้านของ WordPress คือ อะไร ?

ระบบหน้าบ้านของ WordPress ก็คือ หน้าเว็บไซต์ ของเรานั่นเองครับ เป็นหน้าที่ ผู้ที่จะเข้าชมเว็บไซต์ของเราจะมองเห็น หรือเรียกว่าเป็นหน้าที่ เปิด สาธารณะ ก็ได้ครับ ตัวอย่างหน้าบ้านของเว็บไซต์ผมเป็นแบบนี้ครับ


ระบบหน้าบ้านของ WordPress

ระบบหลังบ้านของ WordPress คือ อะไร ?

ระบบหลังบ้านของ WordPress ก็คือ ระบบที่เราเอาไว้จัดการ ข้อมูลของเว็บไซต์ WordPress ซึ่งข้อมูลที่เราจัดการที่หลังบ้านนี้เอง จะทำการอัพเดทให้ คนอื่นๆ ที่มาเข้าเว็บไซต์ ระบบหน้าบ้าน ของเราได้เห็นข้อมูล แต่การที่เราจะเข้าไปจัดการได้ ตรงนี้ WordPress เขามี Security หรือ ระบบความปลอดภัย เราจึงต้องใช้ ชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่านของเราในการเข้าสู่ระบบ

ทางเข้าระบบหลังบ้าน ให้เราพิมพ์ ชื่อโดเมนของเรา แล้วตามด้วย “/wp-admin” ครับ ตัวอย่าง เช่น

https://mydomain.com/wp-admin

** อย่าลืมพิมพ์ https:// หรือ http:// นำหน้าด้วยนะครับ แต่ในสมัยใหม่ เราใช้ https:// กันหมดแล้ว

เมื่อเข้า หน้าจอระบบหลังบ้าน ของ WordPress เราก็จะเจอ หน้าจอนี้ครับ


หน้าจอเข้าสู่ระบบของ WordPress **การแสดงภาษาขึ้นอยู่กับ ภาษาที่เราติดตั้ง เปลี่ยนภายหลังได้

ถ้าเราเจอหน้าจอนี้ ให้เราใส่ชื่อผู้ใช้ กับ รหัสผ่าน ที่เราได้ทำเอาไว้ ตอนที่เราติดตั้งได้เลยครับ หลังจากที่เรากด เข้าสู่ระบบ เราจะได้หน้าจออีกหน้าจอถัดไปครับ


หน้าจอ ระบบหลังบ้าน ของ WordPress

จากหน้าจอ ระบบหลังบ้านของ WordPress เราจะเห็นได้ว่า ทางด้านซ้าย จะมี เมนู เข้าสู่ การทำงานต่างๆ ใน WordPress ในส่วนนี้เราเรียกว่า Admin Menu ส่วนทางด้านบน จะเป็นเหมือน ทางลัด เข้าออกหลังบ้าน หน้าบ้าน เราเรียกว่า Admin Bar ตรงนี้อย่าสับสนนะครับ ที่สำคัญ เราสามารถ ไปยังหน้าเว็บไซต์ หรือ ระบบหน้าบ้าน โดยการคลิกชื่อเว็บไซต์ ที่ Admin Bar ได้ด้วยครับ หลังจากคลิกแล้ว ก็จะเป็นแบบหน้าจอนี้ครับ


หน้าจอ ระบบหน้าบ้าน WordPress หลังจากเข้าสู่ระบบ


การสร้างหน้าเว็บไซต์ใน WordPress

การสร้างหน้า ขั้นพื้นฐาน เราสามารถที่จะสร้างหน้าเว็บไซต์ ของเราได้ทันที หลังจากที่เราติดตั้ง WordPress ให้เราไปที่เมนู Pages แล้วก็ไปที่ All Pages ครับ จากนั้น เรากดปุ่ม Add New ได้เลย


สอน wordpress เรื่อง การสร้างหน้าเว็บไซต์ หน้าแรกของเรากันเถอะ

หลังจากที่เรากด Add New เข้ามาแล้ว เราจะเจอกับตัวเขียนข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ของเรา สามสิ่งนี้ คือ สิ่งที่สำคัญในการสร้างหน้าเว็บไซต์ของเราครับ


ใส่ข้อมูล ในหน้าเว็บไซต์ ด้วย WordPress

หลังจากใส่ข้อมูลแล้ว ก็อย่าลืมกด Publish หรือ บางครั้ง อาจจะเป็นปุ่ม Schedule ครับ กดสองครั้ง เพื่อเผยแพร่ได้เลยครับ

รู้จัก และ ใช้งาน Block Editor ใน WordPress ว่า คืออะไร ?

Block Editor ใน WordPress มีมาตั้งแต่ WordPress Version 5 ขึ้นไป มีความแตกต่างกับ WordPress Editor ตัวเก่า ที่เรียกว่า Classic Editor ค่อนข้างมาก แต่ถ้าลองใช้งานไปสักพัก เราจะรู้เลยว่า Block Editor ใช้งานง่ายกว่า Classic Editor และ ยังจัดรูปแบบได้เข้าที่เข้าทางกว่าครับ

ซึ่งการใช้งาน Block Editor ผมมี Video Series ที่อธิบายอย่างละเอียด เรียบร้อยแล้วครับ สามารถดูได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้เลยครับ