ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 ส่วนสาระการเรียนรู้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. ประสบการณ์สำคัญ และ 2. สาระที่ควรเรียนรู้ ทั้งสองส่วนมีความสำคัญในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งวันนี้เราจะทำความรู้จักกับ “สาระที่ควรเรียนรู้” ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง


สาระที่ควรเรียนรู้

เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเด็กเป็นลำดับแรก แล้วจึงขยายไปสู่เรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

3. ธรรมชาติรอบตัว

4. สิ่งต่างๆ รอบตัว


1.สาระที่ควรเรียนรู้ :  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก


ต่ำกว่า 3 ปี

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กเด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ และเพศของตนเอง การเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การรับประทานอาหาร การถอดและใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัยและการนอนหลับพักผ่อน


เด็ก 3-6 ปี

เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่มีของครอบครัวและโรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วนตนเอง ตามลำพังหรือกับผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม


2.สาระที่ควรเรียนรู้ :  เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก


ต่ำกว่า 3 ปี

เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัวการรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดู วิธีปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การทักทาย การไหว้ การเล่นกับพี่น้องในบ้าน การไปเที่ยวตลาดและสถานที่ต่างๆ ในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี


เด็ก 3-6 ปี

เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่คัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สำคัญของชาติไทย และการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆ


3.สาระที่ควรเรียนรู้ : ธรรมชาติรอบตัว


ต่ำกว่า 3 ปี

เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสํารวจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว เช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำ เล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตราย การเดินเล่นในสวน การเพาะปลูกอย่างง่าย


เด็ก 3-6 ปี

เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน นํ้า ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ แรงและพลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสาธารณสมบัติ


4.สาระที่ควรเรียนรู้ :  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก


ต่ำกว่า 3 ปี

เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัว การเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆของสิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเช่นสีรูปร่างรูปทรงขนาดผิวสัมผัส


เด็ก 3-6 ปี

เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม


แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย

หลักการจัดประสบการณ์ของเด็กช่วงอายุ 3-6 ปี ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กล่าวไว้ว่า การจัดประสบการณ์จะต้องจัดในรูปแบบบูรณาการผ่านการเล่น (การเล่นอย่างมีความหมาย) เช่น การที่เด็กเล่นบทบาทสมมติในการเล่นขายของ เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาจากการพูดสื่อสารกับเพื่อนในการสลับผลัดเปลี่ยนการเป็นแม่ค้าและลูกค้า ซึ่งเด็กอาจจินตนาการในการพูดขึ้นมาเองหรืออาจจดจำจากผู้ปกครองเมื่อไปตลาด นอกจากจะได้ทักษะทางภาษาแล้ว เด็กยังได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การบวก – การลบเลขง่าย ๆ จากการเล่นอีกด้วย ถือเป็นการบูรณาการที่ได้ทั้งทักษะทางภาษาและคณิตศาตร์

การจัดประสบการณ์จึงเปรียบเสมือนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้กับเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา มีการบูรณาการการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก โดยมีหลักการและแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

แนวทางการจัดประสบการณ์ (ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560)

การจัดกิจกรรมประจำวัน

การจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี จะช่วยให้คุณครูหรือผู้จัดประสบการณ์รู้ว่าแต่ละวันจะต้องทำกิจกรรมอะไร เมื่อไร และอย่างไร ในการจัดกิจกรรมประจำวันสามารถจัดได้หลายรูปแบบ โดยจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละหน่วยงานและสภาพชุมชน คุณครูผู้สอนต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมพัฒนาทุกด้าน

หลักการจัดกิจกรรมและขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน สามารถกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน สามารถยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก ดังนี้ เด็กในช่วงอายุ 3-4 ปี มีความสนใจ 8-12 นาที, เด็กในช่วงอายุ 4-5 ปี มีความสนใจ 12-15 นาที และเด็กในช่วงอายุ 5-6 ปี มีความสนใจ 15-20 นาที

ดังนั้น แนวทางการจัดกิจกรรมควรจะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ที่สำคัญไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนานเกินกว่า 20 นาที ซึ่งในการจัดกิจกรรมคุณครูควรจัดให้มีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน กิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก กิจกรรมที่เป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้ริเริ่ม และกิจกรรมที่ใช้กำลังและไม่ใช้กำลัง โดยให้จัดกิจกรรมให้ครบทุกประเภท

ทั้งนี้ กิจกรรมที่ต้องออกกำลังกายควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก เพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อยเกินไปและที่สำคัญเด็กควรมีอิสระในการเลือกเล่นเสรี (เวลาในการทำกิจกรรมประมาณ 40-60 นาที) เพื่อช่วยให้เด็กรู้จักเลือกตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ เช่น การเล่นตามมุม การเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ

การกำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์

เป็นขั้นตอนที่คุณครูต้องกำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมถึงนวัตกรรมที่ต้องใช้สอดแทรกลงในการจัดประสบการณ์ สำหรับรูปแบบที่นิยมใช้จะเป็นการจัดประสบการณ์เป็นรายสัปดาห์ และในบางสัปดาห์อาจใช้หน่วยตามความสนใจของเด็ก โดยพิจารณาข้อมูลจากหลักสูตรสถานศึกษา ตัวเด็ก สภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ประกอบกัน ทั้งนี้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมค่ะ

เมื่อได้หน่วยการจัดประสบการณ์แล้ว คุณครูสามารถกำหนดรายละเอียดของสาระการเรียนรู้ให้เข้ากับหัวเรื่องหน่วยการจัดประสบการณ์ สาระการเรียนรู้ก็จะประกอบด้วยประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรรู้ ซึ่งในสาระที่ควรรู้ในหลักสูตรไม่ได้กำหนดเนื้อหาหรือรายละเอียดก็เพื่อให้สามารถยืดหยุ่นได้ง่าย สะดวกต่อการปรับให้เหมาะสมกับความสนใจและสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ตัวกำหนดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยจะแบ่งตามสาระ โดยแบ่งออกเป็น 4 สาระดังนี้ คือ

สาระที่ 1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

สาระที่ 2 บุคคลและสถานที่แวดล้อม

สาระที่ 3 ธรรมชาติรอบตัวเด็ก

สาระที่ 4 สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

การประเมินพัฒนาการ

การประเมินพัฒนาการ คือ การประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ -จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็ก และจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก จากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลที่บันทึกเป็นระยะ ๆ จะสามารถบอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด และนำข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณาปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดมุ่งหมายในการประเมินพัฒนาการควรยึดหลักดังนี้

1. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ

2. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน

3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ตลอดปี

4. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือที่หลายหลาย เช่น

Portfolio สำหรับเป็นรายบุคคล เช่น การเก็บชิ้นงานหรือภาพถ่ายเด็กขณะทำกิจกรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในงานที่เด็กทำ

การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การสอนแบบโครงการ(Project Approach) ที่สามารถแสดงให้เห็นร่องรอยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กและการสะท้อนตนเองของครู อาจบันทึกการสนทนาระหว่างเด็กกับครู เด็กกับเด็ก การบันทึกของครู การบรรยายของพ่อ-แม่ในรูปแบบจดหมาย (และไม่ควรใช้แบบทดสอบ)

5. สรุปผลประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็กสำหรับวิธีการประเมินที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กช่วงอายุ 3-6 ปี ได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนากับเด็ก การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ

สิ่งสำคัญในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ในการจัดประสบการณ์ จะต้องจัดให้สอดคล้องเหมาะสมกับเด็กและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เพื่อที่เด็กจะได้ฝึกฝนตนเองให้เหมาะกับชุมชนหรือท้องถิ่นรอบ ๆ ตัวเด็ก นอกจากนี้จะต้องจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาตนเองได้อย่างมีศักยภาพและความสามารถ

ทั้งนี้คุณครูสามารถนำสาระการเรียนรู้มาบูรณาการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กได้ อย่างเช่น ตัวอย่างกิจกรรมใบงานที่เรานำมาแนะนำกัน คุณครูหรือผู้ปกครองสามารถนำไปต่อยอดในการจัดประสบการณ์หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บุคคลและสถานที่สิ่งแวดล้อม และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง วันสำคัญได้

สิ่งที่เด็กควรรู้

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุก ๆ ปี มีเหตุการณ์สำคัญ คือ พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ในปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย กิจกรรมที่ทำกันในวันมาฆบูชาคือ ประชาชนจะประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัย

วันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธ เป็นวันหยุดราชการในหลายๆ ประเทศ อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนาพระธรรมที่มีชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชาจึงถือเป็นวันแรกที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย

Executive Function (EF)  หรือ ทักษะทางสมองที่ควบคุมความคิด การกระทำ และอารมณ์ ให้ไปถึงเป้าหมาย การพัฒนาทักษะ EF จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่ควรฝึกฝนในเด็ก . . . เพราะสิ่งสำคัญไม่ใช่เเค่การมีไอคิวที่ดี เเต่ต้องโตมาแบบมีอารมณ์ กระบวนการคิดที่ดีควบคู่กันด้วย ถึงจะทำให้ลูกโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ. .


EF ไม่ใช่ทักษะที่อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาเอง เเต่ต้องมีการฝึกฝนแบบต่อเนื่องยาวนานเเละเป็นลำดับ ผ่านกระบวนการเเก้ปัญหาที่ให้เด็กเรียนรู้ซ้ำ ๆ ถ้าเด็กมีการฝึกฝน ก็จะมีพัฒนาการทางสมองที่ดี สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล เเละตัดสินใจได้ถูกต้อง  แต่ถ้าเด็กขาด EF เมื่อเผชิญกับปัญหาจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เเละวางแผนในการทำงานหรือการใช้ชีวิตไม่เป็นค่ะ


ช่วง 3-6 ปี เป็นโอกาสทองที่จะพัฒนา EF ให้ลูกเลยค่ะ เพราะฉะนั้น มาช่วยกันพัฒนา EF ให้ลูกกันค่ะ . .


กิจกรรมที่ดีที่จะช่วยให้เด็กเล็กพัฒนา EF ได้แก่ อ่านหนังสือ เล่นดินเล่นทรายพร้อมถังน้ำ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน ต่อบล็อกไม้ การฉีก-ตัด-ปะกระดาษ การวิ่งเล่นในสนาม ปีนป่าย เล่นบทบาทสมมติ เล่นดนตรี


ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมสำหรับเด็กทั่วๆ ไปใช่ไหมคะ นั่นเป็นเพราะกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็กได้คิด วางแผนกระทำและอารมณ์เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายได้


นอกจากนี้เรายังสามารถพัฒนา EF ในเด็กผ่านกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกค่ะ เช่น

• ทำให้เด็กรู้สึกผูกพันไว้วางใจกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู

• กินอิ่ม นอนหลับให้เพียงพอ

• ส่งเสริมให้เด็กทำงานจนเสร็จ

• สอนให้รู้จักจัดการกับอารมณ์ตัวเอง

• สภาพแวดล้อมที่สะอาด สงบ ปลอดภัย มีสิ่งที่กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก เช่น หนังสือ ของเล่น เป็นต้น

• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

• ฝึกความรับผิดชอบในบ้านเล็กๆ น้อยๆ

• สอนให้เด็กพึ่งพาตัวเองตามวัย

• มีโอกาสเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ

• ฝึกให้รู้จักอดทนรอคอย

• สอนให้รู้จักคิดก่อนตอบ คิดก่อนทำ

• สอนให้เด็กรู้จักจัดการความเครียด

“When parents insist that children do their chores,

they are letting them know that they are not just loved, they are needed.”

“เมื่อพ่อแม่ให้ลูก ๆ ทำงานบ้าน

เรากำลังทำให้ลูก ๆ รับรู้ว่า ไม่ใช่แค่ตัวเขาที่ถูกรักโดยพ่อแม่เพียงอย่างเดียว แต่ตัวเขาเองมีความสำคัญและเป็นที่ต้องการของพ่อแม่เช่นกัน”

-Wendy Mogel-

.

“งานบ้าน” ถือเป็นงานส่วนรวมงานแรกในชีวิตของเด็ก ๆ เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเด็ก ๆ ทำงานบ้าน พวกเขาได้ทำประโยชน์ให้กับคนที่มาใช้งานพื้นที่นั้น หรือ ของตรงนั้น เด็ก ๆ จะรับรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเองว่า “ตัวเขาสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้”

.

การมอบหมายงานบ้านให้เด็ก ๆ ทำ ไม่ได้มีเป้าหมายไปที่บ้านที่สะอาดเอี่ยมอ่อง แต่เพื่อ...

.

(1) ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนการยับยั่งชั่งใจ (Self-control)

เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่า พวกเขาต้องทำสิ่งสำคัญหรือสิ่งที่จำเป็นก่อนไปทำสิ่งที่อยากทำ นั่นคือการทำงานบ้านก่อนไปเล่นนั่นเอง การทำงานบ้านก่อนไปเล่นจึงเป็นการฝึกเรื่อง “การชะลอสิ่งที่อยากได้หรืออยากทำ (Delayed gratification)” ได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

.

(2) ให้เด็ก ๆ ได้ใช้ความพยายามทำสิ่งที่มีคุณค่า เพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง

เมื่อเด็ก ๆ ทำงานบ้าน พวกเขาต้องใช้ความอดทนและความพยายาม

ในอนาคต ถ้าหากพวกเขาต้องการทำสิ่งที่มีคุณค่าหรือทำให้ตนเองมีคุณค่าต้องอาศัยความอดทนและพยายามเช่นกัน

.

(3) ให้เด็ก ๆ ทำในสิ่งที่เขาทำได้ เพื่อผู้อื่นบ้าง

เพื่อดึงเด็ก ๆ ออกจากศูนย์กลาง (Egocentrics) ทำให้พวกเขามองเห็นผู้อื่น และเรียนรู้ความเห็นอกเห็นใจ

.

(4) ให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาการร่างกายกล้ามเนื้อมัดเล็ก-มัดใหญ่

เมื่อเด็ก ๆ ทำงานบ้าน พวกเขาจะต้องควบคุมร่างกายให้เคลื่อนไหวในทิศทางที่เหมาะสม เพื่อจะกวาด ปัด เช็ด ถู ริน กรอก บิด ซัก หนีบ และอื่น ๆ

เด็ก ๆ ที่ทำงานบ้านจะมีการพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ในเวลาเดียวกัน

.

“ในเด็กเล็กเมื่อนิ้วมือขยับ ร่างกายเคลื่อนไหว สมองยิ่งพัฒนา"

.

เด็ก ๆ หลายคนเกิดมาเพื่อเป็นผู้ช่วยเหลือ แต่ความอยากช่วยค่อย ๆ เลือนหายไป เนื่องด้วย...

.

"การที่มีผู้อื่นทำอะไรให้ทุกอย่าง เขาไม่ต้องทำอะไรเอง” เพราะพ่อแม่อาจจะรู้สึกเด็ก ๆ ทำไม่ทันใจ หรือ กลัวว่าลูกจะเหนื่อยและลำบาก จึงไม่อยากให้เขาลงมือทำสิ่งเหล่านี้

.

นอกจากนี้ "การถูกตำหนิที่ผลลัพธ์ก่อนได้รับการชื่นชมในความตั้งใจทำ" เพราะพ่อแม่อาจจะลืมไปว่า ผลลัพธ์สำคัญน้อยกว่าความพยายาม เด็กๆ ทำไม่ได้ดี เขาพัฒนาได้ แต่ถ้าเราห้ามเขาทำ บ่นที่เขาทำไม่ได้ดังความคาดหวังของเรา เด็กจะไม่อยากทำมันอีก นานวันไป ก็กลายเป็น “เขาไม่ทำมันดี น่าจะดีที่สุด” เพราะเขาไม่อยากถูกบ่นหรือตำหนิ

.

**********

.

ดังนั้น คุณค่าในตนเองเริ่มจาก “การทำให้ตนเองมีคุณค่า” ผ่านการลงมือทำ ช่วยเหลือตัวเองไม่ให้เป็นภาระของใคร ดูแลของใช้และพื้นที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ และเมื่อดูแลตัวเองและของ ๆ ตัวเองได้แล้ว ก็พัฒนาไปสู่การช่วยเหลือส่วนรวม โดยเริ่มจากงานบ้านเพื่อคนที่บ้าน ซึ่งเป็นบุคคลที่เขารัก และสุดท้าย แม้จะไม่ได้เกิดกับทุกคน คือ การช่วยเหลือส่วนรวม ซึ่งเป็นบุคคลอื่น ๆ ที่เด็ก อาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน

.

สิ่งที่เด็ก ๆ ลงมือทำคือสิ่งที่มีคุณค่า เมื่อคุณค่าถูกส่งออกไปจากตัวเขาไปสู่ผู้อื่น สิ่งที่ได้รับกลับมา คือ การที่ผู้อื่นรับรู้ถึงคุณค่าในตัวเขา เป็นการยืนยันว่าเขามีคุณค่าในขั้นแรก นานวันเขาไม่จำเป็นต้องรอผู้อื่นมายืนยันคุณค่านั้นอีก เพราะเขาเรียนรู้แล้วว่า ตัวเองมีคุณค่า