micro:bit คืออะไร

micro:bit ทำอะไรได้บ้าง

micro:bit ทำอะไรได้บ้าง 2

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 1

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 2

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 3

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 4

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 5

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 6

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 7

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 8

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 9

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 10

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 11

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 12

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 13

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 14

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 15

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 16

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 17

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 18

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 19

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 20

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 21

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 22

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 23

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 24

MakeCode | micro:bit วิทยาการคำนวณ ตอนที่ 25

 

micro: bit V2

คุณสมบัติเด่น

๐ ไมโครคอนโทรลเลอร์หลักเบอร์ nRF52833 จาก Nordic Semiconductor เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิต ARM Cortex-M4F ความเร็ว 64MHz มีหน่วยความจำโปรแกรมแบบแฟลชมากถึง 512kB และมีหน่วยความจำแรม 128kB

๐ ส่วนเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อสื่อสารข้อมูลและดาวน์โหลดโปรแกรมใช้ชิป KL27 จาก NXP

๐ ติดตั้งตรวจจับความเร่งและสนามแม่เหล็กโลกเบอร์ LSM303 จาก STMicroelectronics

๐ ติดตั้งไมโครโฟนแบบ MEMS เบอร์ SPU0410LR5H-QB-7 พร้อม LED แสดงการทำงาน (เป็นความสามารถที่เพิ่มจากรุ่นก่อน)

๐ มีลำโพงเปียโซในตัว จึงขับเสียงได้ (เป็นความสามารถที่เพิ่มจากรุ่นก่อน)

๐ มีวงจรตรวจจับการสัมผัสที่โลโก้ของ micro:bit ในแบบคาปาซิตีฟ (เป็นความสามารถที่เพิ่มจากรุ่นก่อน)

๐ LED แสดงผล 5×5 จุด

๐ ขาพอร์ตหลัก (0 ถึง 2) รองรับการทำงานตรวจจับการสัมผัสในแบบคาปาซิตีฟ (เป็นความสามารถที่เพิ่มจากรุ่นก่อน)

๐ มีพอร์ตอินพุตเอาต์พุตสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกผ่านทาง Edge connector รวม 20 ขา มีขาหลัก 3 ขาเป็นรูขนาด 4 มม. และมีการเว้นที่ขอบเล็กน้อย เพื่อให้ใช้สายปากคีบหนีบได้กระชับมากขึ้น

๐ ต้องการไฟเลี้ยง +5V ผ่านทางพอร์ต microUSB หรือ +3V ผ่านทางคอนเน็กเตอร์ JST 2 ขาที่ติดตั้งอยู่ด้านหลังของบอร์ด

๐ ต้องการกระแสไฟฟ้าสูงสุด 300mA เมื่อเปิดใช้งานเต็มความสามารถ

๐ เพิ่มความสามารถในการทำงานโหมดประหยัดพลังงาน และปิดการทำงานได้หากใช้ไฟเลี้ยงจากจุดต่อแบตเตอรี่ (คอนเน็กเตอร์ JST 2 ขา ที่ด้านหลังของบอร์ด)

๐ มี LED แสดงสถานะไฟเลี้ยง และ LED แสดงสถานะการเชื่อมต่อกับพอร์ต USB (เป็นความสามารถที่เพิ่มจากรุ่นก่อน)

เกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้กับ micro:bit V2

๐ ยังคงใช้โปรแกรม MakeCode Editor แบบบล็อก JAVA Script Python ได้เหมือนเดิม นำโค้ดเดิมที่ใช้กับ V1.x มาเปิดแล้วดาวน์โหลดลงไปใหม่ได้ โดยต้องนำโค้ดเดิมนั้นมาเปิดบน MakerCdoe Editor เวอร์ชันใหม่ก่อน แล้วทำการดาวน์โหลดลงไปยังบอร์ด micro:bit V2 ใหม่

๐ MakeCode เวอร์ชันใหม่มีทั้งแบบ online โดยไปที่ https://makecode.microbit.org/

และ offline ดาวน์โหลดได้ที่ https://makecode.microbit.org/offline-app

๐ ในโปรแกรม MakeCode มีบล็อกคำสั่งเพิ่มสำหรับ micro:bit V2 โดยในเมนูของคำสั่งจะมีบอกไว้อย่างชัดเจน

๐ สำหรับการเขียนโปรแกรมด้วย microPython แนะนำให้ใช้เครื่องมือบน MakeCode หรือใช้ Thonny IDE (ดาวน์โหลดได้ที่ https://thonny.org)