Geo-Social Mapping

แผนที่เดินดิน

แผนที่เดินดิน

แผนที่เดินดิน

       แผนที่เดินดินเป็นแผนที่ชุมชนที่มีลักษณะพิเศษ และที่เรียกว่าแผนที่เดินดิน เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างจากแผนที่ชุมชนอีกชนิดหนึ่งคือ แผนที่นั่งโต๊ะ โดยในอดีตที่ยังไม่มีการทำแผนที่ชุมชน คนทำงานชุมชนต้องเดินดินออกสำรวจเพื่อทำแผนที่สำหรับใช้งานของตนเอง ปัจจุบันชุมชนต่าง ๆ มักจะมีแผนที่ที่ถูกทำไว้แล้วคนทำงานชุมชนในปัจจุบันจึงไม่ได้ทำแผนที่เดินดินแต่อาศัยแผนที่นั่งโต๊ะที่มีอยู่แล้ว ซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำไว้ และไม่ทราบว่าถูกต้องเป็นปัจจุบันหรือไม่ การที่ต้องเดินดินทำแผนที่เองทำให้คนทำงานรู้จักชุมชนและรู้จักพื้นที่ แผนที่เดินดินจึงแตกต่างจากแผนที่นั่งโต๊ะ ซึ่งผู้ศึกษาไม่จำเป็นต้องไปเดินสำรวจด้วยตนเอง เพียงแต่เปิดจากแฟ้มหรือขอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในปัจจุบันมีโปรแกรมแผนที่ดาวเทียม เช่น จีไอเอส (GIS: Geographic Information System) และกูเกิ้ลแม็ป (Google map)

แผนที่เดินดิน’ มองให้เห็น ก่อนจะเริ่มเป็นนักพัฒนา 

ทวิภัทร บุณฑริกสวัสดิ์

พูดถึง ‘แผนที่’ ใครๆก็ต้องรู้จักว่ามันคืออะไร แต่ ‘แผนที่เดินดิน’ นั้นแตกต่างจากแผนที่ธรรมดาๆ ซึ่ง ในสมัยนี้ก็ใช้แอพลิเคชั่นอย่าง GoogleMaps ได้ แต่แผนที่เดินดินนั้นมีความพิเศษกว่าแผนที่ธรรมดาๆ เพราะ เป็นแผนภูมิสังคม (Geo-social mapping) ที่ผู้เขียนแผนที่แบบนี้นั้นจะต้องเขียนทั้งแผนที่ที่บอกต าแหน่ง สถานที่ต่างๆและต้องเขียนแผนที่ทางสังคมอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งแผนที่แบบนี้เหมาะมากกับการเป็นก้าวแรกของ การศึกษาชุมชน เพราะมันทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนนั้นๆอย่างครบถ้วน ได้ข้อมูลจ านวนมากในเวลาสั้นๆ จากการไปสังเกตด้วยตัวเอง ท าให้ได้เห็นกลุ่มเป้าหมายที่จะท างานด้วยอย่างหลากหลายและสามารถสร้าง ความคุ้นเคยกับพวกเขาให้เกิดขึ้นได้ 

เราสามารถใช้แผนที่เดินดินในการเรียนรู้ว่าเขาเลี้ยงวัวตรงไหน เขาปลูกอะไรในหน้าแล้ง ใครที่เป็นคน ที่มีความรู้ในเรื่องกฎหมายหรือเรื่องอื่นๆในชุมชนนั้น หรือท าให้ได้รู้ว่าชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆแต่ละคนมี ปัญหาอะไร มีจุดมุ่งหมายยังไง สัมพันธ์กับคนอื่นๆยังไงบ้าง 

จุดหลักของการเขียนแผนที่เดินที่คือท าให้ ‘รู้จักผู้คน’ ในชุมชน ไม่ใช่เพื่อรู้จักสถานที่ ซึ่งท าให้ได้ ข้อมูลมาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาชุมชน ลักษณะต่างๆของปัญหานั้นๆด้วย

พื้นที่กายภาพ vs พื้นที่ทางสังคม 

โดยทั่วไปนั้น พื้นที่กายภาพนั้นมักจะมีความเป็นพื้นที่ทางสังคมแฝงอยู่ เพราะพื้นที่ต่างๆในชุมชนจะ ท าหน้าที่ทางสังคมต่างๆกันไป มีลักษณะทางสังคม และมีอ านาจต่อคนในชุมชนนั้นๆไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น พื้นที่กายภาพบางแห่งอย่าง ลานซักผ้าหรือตลาดสด ก็จะเป็นพื้นที่ของผู้หญิงในชุมชนนั้นเมื่อพิจารณาในแง่ พื้นที่ทางสังคม หรือ พื้นที่ศาลเจ้าในชุมชน หรือพระธาตุส าคัญในจังหวัดนั้นๆก็อาจจะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เมื่อ พิจารณาในแง่พื้นที่ทางสังคม เป็นต้น

การจะเข้าใจพื้นที่ทางสังคมได้นั้น ผู้ศึกษาชุมชนจะต้องคลุกคลีพูดคุยสารทุกข์สุกดิบ หรือสัมภาษณ์ ให้รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับสถานที่กายภาพนั้นๆว่าสัมพันธ์กันอย่างไร และตัวเขาตลอดจนสถานที่ แห่งนั้นสัมพันธ์กับคนอื่นๆในชุมชนอย่างไร

เรียบเรียงข้อมูลทางสังคม

ในพื้นที่ออกมาให้เข้าใจง่าย ต้องท าให้เห็นข้อมูลส าคัญๆของชุมชนได้ว่าเป็นยังไง โดยเฉพาะข้อมูลทางสังคม เช่น ส่วนไหนของ ชุมชนที่ยากจนหรือมีปัญหามากกว่าส่วนอื่นๆ จุดรวมตัวของเยาวชนหรือวัยรุ่นอยู่ที่ไหน และกิจกรรมที่เขา มักจะท าร่วมกันในพื้นที่นั้นคืออะไร เป็นต้น

วิธีเขียนแผนที่เดินดิน 

ให้เริ่มต้นด้วยการเดินส ารวจพื้นที่ให้ทั่วด้วยตัวเอง โดยใช้การสังเกตรอบๆ พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ต่างๆ แล้วจดบันทึกทั้งลักษณะทางกายภาพและกิจกรรมทางสังคมที่เราพบเห็นแล้วค่อยเขียนเป็นแผนที่ออกมา 

Step1: 

ถ้ามีแผนที่กายภาพอยู่แล้ว เช่น GoogleMaps ก็ให้น าเอามาใช้ตั้งต้นเป็นพื้นฐานในการท า แผนที่เดินดินได้ แต่ต้องสังเกตดูด้วยว่าปัจจุบันมีสภาพอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพในแผนที่ที่เราน ามาใช้ เป็นพื้นฐานด้วย

Step2

เติมข้อมูลพื้นฐานต่างๆลงในแผนที่พื้นฐาน เช่น บ้านเลขที่และชื่อ-นามสกุลของบ้านหรือ เจ้าของบ้านที่ส าคัญๆ เช่น โรงเรียน บ้านผู้น าชุมชน วัด สถานที่/เวลาที่พบปะกันระหว่างสมาชิกในชุมชนนั้นๆ เป็นต้น

Step3

ลงพื้นที่เพื่อส ารวจ พูดคุย สัมภาษณ์ไต่ถามเรื่องราวต่าง ตลอดจนเริ่มสังเกตสภาพแวดล้อม และเหตุการณ์ภายในชุมชน โดยเน้นพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งนี้การลงพื้นที่ด้วยการเดินนั้นเป็น วิธีการที่ดีมากกว่าการสัมภาษณ์โดยใช้ยานพาหนะเนื่องจากเหมาะที่จะหยุดแวะเพื่อพูดคุยสัมภาษณ์ได้ทันที และใช้สามารถเวลานาน ๆ ได้

Step4

จากการสังเกต ให้เขียนอธิบายเพิ่มเติมลักษณะทางกายภาพของชุมชนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ถิ่น ที่อยู่ หรือที่ตั้งของแหล่งทรัพยากรหรือสาธารณูปโภคที่ส าคัญต่อชุมชน เช่น มีบ่อน้ า แต่อยู่ในสภาพที่ค่อนข้าง ทรุดโทรม

Step5

สังเกตกิจกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่กายภาพต่างๆ แล้วให้น ามาบันทึกลงในแผนที่ เช่น มีศาลาที่เป็นเหมือนศูนย์รวมชุมชนของชุมชนโรงงานทอผ้า ก. บริเวณหน้าโรงงาน โดยมักจะมีการไปพบปะ พูดคุยกันของแรงงานในช่วงเย็นของทุกๆวันเป็นต้น

Step6

โยง “ความสัมพันธ์ในชุมชน” ด้วยเส้นและลูกศรพร้อมค าอธิบายที่ช่วยให้เห็นความเชื่อมโยง ที่เกิดขึ้นแต่ละกรณีๆ เช่น ตลาดกับผู้น าชุมชนเป็นยังไง วัดกับเยาวชนเป็นยังไง สหภาพแรงงานกับเจ้าของ โรงงานเป็นยังไง เป็นต้น

Step7

เขียนสัญลักษณ์ลงไป ตัวอย่างเช่น กากบาท หรือ ธง หรือ ดาว ในพื้นที่ที่ควรต้องให้ความ สนใจเป็นพิเศษ หรือมีคน/กลุ่มคนในชุมชน ที่เราควรให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็นในเรื่องอะไรก็ เขียนระบุลงไปให้ชัดเจน

การทำแผนที่เดินดินนั้นควรจะพยายามให้มีผู้ที่เกี่ยวข้องหรือคนในชุมชนนั้นๆเองลงพื้นที่ไปด้วยกัน แล้วร่วมสัมภาษณ์พูดคุย สังเกต และตั้งค าถามเพิ่มเติม ก็จะทำให้ได้แผนที่เดินดินที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมถึง การพูดคุยสอบถามกันระหว่างกันเองในกลุ่มผู้ศึกษาด้วยกันก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอระหว่างที่กำลังเขียนแผนที่ชุมชน คือ ชุมชนไม่ได้ประกอบขึ้นแล้วดำรงอยู่ อย่างโดดเดี่ยว แต่มีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกหรือชุมชนอื่น และมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ได้หยุดนิ่ง ตายตัว

สิ่งที่ส าคัญที่สุดในการเขียนแผนที่เดินดินนั้น คือ เมื่อเขียนขึ้นมาแล้ว เราเห็นถึงความสัมพันธ์หรือ วัฒนธรรมของชุมชนนั้นชัดเจนมากขึ้นหรือไม่ และท าให้เห็นถึงขุมพลังศักยภาพ ปัญญาความรู้ และโอกาสของ ชุมชนนั้นๆมากขึ้นหรือไม่ และเมื่อเขียนขึ้นมาแล้วก็สามารถน าแผนที่ไปพูดคุยกันต่อระหว่างผู้เขียนกับชุมชน หรือระหว่างสมาชิกชุมชนด้วยกันเองด้วยกันก็ได้ เนื่องจากช่วยให้เห็นภาพรวมและความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชนในแบบต่างๆได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยให้มองเห็น ‘ความเป็นคน’ ของกันและกันในชุมชนมาก ยิ่งขึ้นด้วย เพราะเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ทางกายภาพและมิติความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ผสาน เข้าด้วยกันเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว

Youtube แผนที่เดินดิน

เอกสาร-แผนที่เดินดิน

วิถีชุมชน- คู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้ชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก.pdf
คู่มือจัดอบรมวิถีชุมชน.pdf
L12-ฝึกการใช้เครื่องมือในชุมชน-เครื่องมือ-7-ชิ้น.pdf
‘แผนที่เดินดิน’ มองให้เห็น ก่อนจะเริ่มเป็นนักพัฒนา.pdf